วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560

บ้านน้ำเชี่ยว ตราด

บ้านน้ำเชี่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวชุมชนเชิงวิถีชีวิตวัฒนธรรม ตั้งอยู่ใน ต.น้ำเชี่ยว อ.แหลมงอบ จ.ตราด เป็นหมู่บ้านในเส้นทางผ่านไป ขึ้นเรือสู่เกาะช้าง หมู่บ้านน้ำเชี่ยวแห่งนี้ ยังได้เป็นรับเลือกให้เป็น “หมู่บ้าน OVC” (OTOP Village Champion) ที่ได้รับการสนับสนุนจาก กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย รวมถึงรางอุตสาหรรมท่องเที่ยวไทยดีเด่นจากากรท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บ้านน้ำเชี่ยวมี พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ติดทะเล มีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เป็นจำนวนมาก มีคลองขนาดใหญ่ไหลผ่าน ซึ่งคลองนี้มีต้นกำเนิด อยู่ที่เขาวังปลา อยู่ระหว่างอำเภอแหลมงอบและอำเภอเมืองตราด เดิมทีประชากรของตำบลน้ำเชี่ยว เป็นคนไทยนับถือศาสนาพุทธ ต่อมามีพ่อค้าชาวจีนล่องเรือสำเภามาค้าขายสินค้าที่ท่าเรือบ้านน้ำเชี่ยว และได้ตั้งรกรากอยู่ที่นี่ ทำให้ชาวน้ำเชี่ยวส่วนหนึ่งเป็นคนไทย เชื้อสายจีน และในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีชาวมุสลิมซึ่งเรียกตัวเองว่า “แขกจาม หรือ จำปา” อพยพหนีสงครามมาจากประเทศเขมร   มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ริมคลองน้ำเชี่ยว และมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยชาวพุทธและมุสลิมสามารถแต่งงานข้ามศาสนาได้   ซึ่งพี่น้องทั้งสอง ศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกันในตำบลน้ำเชี่ยวอย่างสันติสุขด้วยความสัมพันธ์อันดีตลอดมา ที่มาของชื่อชุมชน “น้ำเชี่ยว” มาจากพื้นที่ส่วนใหญ่ อยู่ติดทะเล มีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เป็นจำนวนมาก มีคลองขนาดใหญ่ไหลผ่าน ซึ่งคลองนี้มีต้นกำเนินอยู่ที่เขาวังปลา อยู่ระหว่างอำเภอแหลมงอบและอำเภอเมืองตราด เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำในคลองจะไหลเชี่ยวมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า “คลองน้ำเชี่ยว” ไหลผ่านกลางหมู่บ้านน้ำเชี่ยวลงสู่ทะเลอ่าวไทยทางใต้ที่บ้านปากคลอง ตำบลหนองโสน อำเภอเมืองตราด ซึ่งชาวบ้านใช้เป็นแหล่งประมง พื้นบ้านและใช้เป็นเส้นทางออกทะเลเพื่อทำการประมงจนถึงปัจจุบันชาวตำบลน้ำเชี่ยวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ประมง ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และค้าขาย


บ้านน้ำเชี่ยว สถานที่ท่องเที่ยวชุมชนเชิงวิถีชีวิตวัฒนธรรม ตั้งอยู่ใน ต.น้ำเชี่ยว อ.แหลมงอบ จ.ตราด เป็นหมู่บ้านในเส้นทางผ่านไป ขึ้นเรือสู่เกาะช้าง หมู่บ้านน้ำเชี่ยวแห่งนี้ ยังได้เป็นรับเลือกให้เป็น “หมู่บ้าน OVC” (OTOP Village Champion) ที่ได้รับการสนับสนุนจาก กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย รวมถึงรางอุตสาหรรมท่องเที่ยวไทยดีเด่นจากากรท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บ้านน้ำเชี่ยวมี พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ติดทะเล มีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เป็นจำนวนมาก มีคลองขนาดใหญ่ไหลผ่าน ซึ่งคลองนี้มีต้นกำเนิด อยู่ที่เขาวังปลา อยู่ระหว่างอำเภอแหลมงอบและอำเภอเมืองตราด เดิมทีประชากรของตำบลน้ำเชี่ยว เป็นคนไทยนับถือศาสนาพุทธ ต่อมามีพ่อค้าชาวจีนล่องเรือสำเภามาค้าขายสินค้าที่ท่าเรือบ้านน้ำเชี่ยว และได้ตั้งรกรากอยู่ที่นี่ ทำให้ชาวน้ำเชี่ยวส่วนหนึ่งเป็นคนไทย เชื้อสายจีน และในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีชาวมุสลิมซึ่งเรียกตัวเองว่า “แขกจาม หรือ จำปา” อพยพหนีสงครามมาจากประเทศเขมร   มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ริมคลองน้ำเชี่ยว และมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยชาวพุทธและมุสลิมสามารถแต่งงานข้ามศาสนาได้   ซึ่งพี่น้องทั้งสอง ศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกันในตำบลน้ำเชี่ยวอย่างสันติสุขด้วยความสัมพันธ์อันดีตลอดมา ที่มาของชื่อชุมชน “น้ำเชี่ยว” มาจากพื้นที่ส่วนใหญ่ อยู่ติดทะเล มีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เป็นจำนวนมาก มีคลองขนาดใหญ่ไหลผ่าน ซึ่งคลองนี้มีต้นกำเนินอยู่ที่เขาวังปลา อยู่ระหว่างอำเภอแหลมงอบและอำเภอเมืองตราด เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำในคลองจะไหลเชี่ยวมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า “คลองน้ำเชี่ยว” ไหลผ่านกลางหมู่บ้านน้ำเชี่ยวลงสู่ทะเลอ่าวไทยทางใต้ที่บ้านปากคลอง ตำบลหนองโสน อำเภอเมืองตราด ซึ่งชาวบ้านใช้เป็นแหล่งประมง พื้นบ้านและใช้เป็นเส้นทางออกทะเลเพื่อทำการประมงจนถึงปัจจุบันชาวตำบลน้ำเชี่ยวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ประมง ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และค้าขาย

วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

ตังเมกรอบบ้านน้ำเชี่ยว

                              ตังเมกรอบ ต.น้ำเชี่ยว อ.แหลมงอบ จ.ตราด 

     ตังเมกรอบ หรือขนมตาลชัก เป็นขนมโบราณที่ปัจจุบันหารับประทานได้ยากพอสมควร พบจำหน่ายอยู่ที่จังหวัดตราด แหล่งผลิตอยู่ที่บ้านน้ำเชี่ยว และอาจพบวางจำหน่ายได้ตามร้านขายของฝากบางแห่งภายในจังหวัดตราด และที่ตลาดเช้าของอำเภอเมืองบ้าง จึงเป็นของฝากที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาถึงจังหวัดตราด




 ตังเมกรอบ ต.น้ำเชี่ยว อ.แหลมงอบ จ.ตราด ตังเมกรอบ ต.น้ำเชี่ยว อ.แหลมงอบ จ.ตราด
ตังเมกรอบ หอมอร่อย



     ตังเมกรอบ ทำมาจากน้ำตาลทรายหรือน้ำอ้อย ผสมกับกะทิ และแบะแซ (ลักษณะเป็นของเหลวใส เหนียวข้น หนืด เป็นกลูโคสไซรัปประเภทหนึ่ง) และนำส่วนประกอบทั้งหมดไปเคี่ยวจนข้นเหนียว เทใส่ภาชนะที่มีหล่อน้ำไว้เพื่อให้เนื้อตังเมจับตัวเป็นก้อน เสร็จแล้วนำไปยืดให้เป็นเส้นจนได้ขนาดตามต้องการ แล้วหักเป็นท่อน ๆ ก่อนบรรจุใส่ซองบรรจุภัณฑ์ ตังเมกรอบรูปร่างจะคล้ายแท่งไม้สั้น ๆ รสชาติของตังเมกรอบหวานจัด หอมกลิ่นน้ำตาลไหม้ ไม่เหนียว แต่กรอบร่วน เคี้ยวเพลิน แต่สำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวานโปรดระมัดระวังในการรับประทาน มิฉะนั้นระดับน้ำตาลในเลือดอาจสูงโดยไม่ต้องการได้  การเลือกซื้อตังเมกรอบ ให้ดูว่าบรรจุภัณฑ์มิดชิดดีหรือไม่ ตัวตังเมบีบแล้วไม่นิ่ม ไม่เหนียว(อย่าบีบแรง เดี๋ยวตัวตังเมหัก) สีตังเมออกเป็นสีธรรมชาติ น้ำตาลอ่อน ๆ ไม่มีจุดเชื้อรา ฉลากต้องระบุส่วนประกอบชัดเจน และมี อย. รับรอง รวมถึงบอกที่อยู่ของแหล่งผลิต จะได้ตังเมกรอบ สดใหม่ สะอาดไว้รับประทาน

     ราคาของตังเมกรอบก็ย่อมเยา 1 แพค มี 20 แท่ง ราคา 15 บาท (ราคา ณ เม.ย. 51 ก่อนสินค้าต่าง ๆ จะยกขบวนกันขึ้นราคา ปัจจุบันราคาอาจเปลี่ยนแปลงได้) ทางทีมงานได้เจ้าตังเมกรอบนี้จากตลาดเช้าของอำเภอเมือง มาชิมกัน 

  
เครดิต:http://www.thongteaw.com/food

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สมาชิก

สมาชิก
กลุ่ม  ตังเมกรอบ


สมาชิก

                       1.นางสาว รุจิรา            อานามวงษ์
                       2.นายชานนท์              วิรัญโท
                       3.นายไชยวัฒน์           หาญพล
                       4.นางสาว วณิฌา        สาริกาเเก้ว
                       5.วัชรินทร์ดา               เคระคุณ
                        

                     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1
               โรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม

ตังเมกรอบ

                                                        วิธีทำตังเมกรอบ

ส่วนประกอบ
          1. น้ำตาลทราย   13   กิโลกรัม
          2. ถั่วลิสง           6    กิโลกรัม
          3. มะพร้าวขูด      1    กิโลกรัม
          4. แบะแซ (ลักษณะเป็นของเหลวใส เหนียวข้น หนืด เป็นกลูโคสไซรัปประเภทหนึ่ง)
วิธีทำ  
        นำส่วนประกอบทั้งหมดไปเคี่ยวจนข้นเหนียว เทใส่ภาชนะที่มีหล่อน้ำไว้เพื่อให้เนื้อตังเมจับตัวเป็นก้อน เสร็จแล้วนำไปยืดให้เป็นเส้นจนได้ขนาดตามต้องการ แล้วหักเป็นท่อน ๆ ก่อนบรรจุใส่ซองบรรจุภัณฑ์